กระแสละครบุพเพสันนิวาส กลายเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงอย่างมากในไทย และยิ่งถึงตอนที่คณะทูตได้ต้องเดินทางไปเยือนประเทศฝรั่งเศส ยิ่งทำให้เกิดข้อสงสัยในเรื่องการเดินทางขึ้นมา
ย้อนกลับไป 300 ปี หลายคนอาจจะสงสัยว่าการเดินทางจาก “อยุธยา” ไป “ฝรั่งเศส” คงไม่ได้ต่อรถมาขึ้นเครื่องบินที่สุวรรณภูมิเหมือนยุคนี้แน่ๆ แล้วพวกเขาจะต้องเดินทางยากลำบากแค่ไหนกันนะ!?
วันนี้ทางแคทดั๊มบ์จึงนำข้อมูลน่าสนใจมาให้ได้อ่านกันครับ…
หากพูดถึงการเดินทางจากอยุธยาไปฝรั่งเศสแล้ว คงจะมีแค่เส้นทางเดินเรือเท่านั้นซึ่งเป็นที่นิยม เพราะการเดินทางขึ้นเหนือไปยังพม่าและจีน ก่อนจะใช้เส้นทางสายไหมไปยังยุโรป ยังถือว่าเป็นเส้นทางทีี่ยากลำบากมากๆ และอาจจะเจ็บไข้ได้ป่วยจนเสียชีวิตลงก่อนจะไปถึงซะอีก

ซึ่งเส้นทางเดินเรือ ก็สามารถแยกออกไปได้เป็นอีก 2 ทฤษฎีเช่นกัน
1. ล่องเรือไปออกทางอ่าวไทย
แผนที่เดินเรือนี้อ้างอิงจากที่ท่านทูตผู้ถือพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทำเอาไว้ในปี 1686 (พศ. 2229)
จะเห็นว่าเส้นทางดังกล่าวนั้นสามารถล่องเรือออกจากอยุธยา มาออกตรงอ่าวสยาม(อ่าวไทย) ก่อนที่จะวกไปอ้อมเกาะชวาเพื่อออกสู่ทะเลอันดามัน
แผนที่นี้แสดงให้เห็นว่าสมัยก่อนน่าจะยังไม่มีการล่องเรือผ่านช่องแคบมะละกาเช่นกัน
แต่ก็มีอีกหลายแผนที่เดินเรือในยุคนั้น ที่แสดงให้เห็นถึงการล่องผ่านช่องแคบมะละกา และลัดเลาะตามชายฝั่งพม่า อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา อ้อมแหลมกู๊ดโฮป จนไปผ่านอังกฤษ ก่อนจะขึ้นเทียบท่าที่ฝรั่งเศส
ซึ่งการเดินทางอ้อมแหลมแอฟริกานี้ เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีการขุดคลองซูเอซ ให้เรือสามารถตัดผ่านแอฟริกาไปยังทะเลเมดิเตอเรเนียนได้ จึงค่อนข้างลำบากพอสมควร
และตามบันทึกที่ว่าเรือของคณะทูตสยามชุดแรก อับปางลงบริเวณแอฟริกาและมาดากัสการ์ในปัจจุบัน เส้นทางเดินเรือนี้จึงน่าเชื่อถือพอสมควร
2. เดินทางไปขึ้นเรือที่เมืองมะริด
อีกหนึ่งทฤษฎีที่มีคนเสนอขึ้นมา เมื่อพิจารณาจากเส้นทางการเดินเรือของพ่อค้าเปอร์เซียที่มายังอยุธยาในสมัยนั้น ก็คือการเดินทางทางพื้นดิน จากอยุธยา ผ่านเพชรบุรี ตะนาวศรี ไปขึ้นเรือที่เมืองมะริด
เส้นทางดังกล่าวอาจจะลำบากในช่วงแรก แต่ไม่จำเป็นต้องนั่งเรือผ่านอ่าวไทย ไปอ้อมมาเลเซียหรือเกาะชวา เพราะสามารถขึ้นเรือทางพม่า เพื่อออกไปยังทะเลอันดามันได้เลย
แผนที่เส้นทางเดินเรือเก่า (เส้นทึบสีม่วง) ก็เป็นเส้นทางที่ออกจากทางพม่า ส่วนเส้นทางอ้อมผ่านอ่าวไทยมายังอยุธยานั้น ถือเป็นเส้นทางใหม่กว่า
สำหรับเส้นทางหลังจากนั้นก็จะเหมือนกับข้อแรก คือการแล่นเรือผ่านอินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ก่อนจะไปขึ้นฝรั่งที่เมือง Brest ในประเทศฝรั่งเศส
ซึ่งเมือง Brest นี้ก็เป็นอีกสถานที่สำคัญสำหรับประวัติศาสตร์ไทย เพราะมีถนน Siam ที่ถูกตั้งตามเส้นทางของคณะทูตสยามซึ่งเดินทางมายังฝรั่งเศส
(เรื่องของเมือง Brest และถนน Siam ทางแคทดั๊มบ์ขอเขียนถึงในบทความหน้านะครับ)
และนี่ก็คือความเป็นไปได้ของ 2 เส้นทางการเดินเรือของคณะทูตสยามชุดที่ 3 ไปยังประเทศฝรั่งเศส ซึ่งทั้งพี่ขุนเดชและคณะ ต้องใช้เวลาไปกลับเป็นปีๆ เลยทีเดียว
สมัยนี้นั่งเครื่องบินไม่กี่ชั่วโมงก็ไปแลนด์ดิ้งในเมืองปารีสเรียบร้อยแล้ว ลองคิดว่าถ้าเรากลับไปอยู่ในยุคนั้น การได้เดินทางไปยังสถานที่ไม่รู้จัก แถมนานเป็นปีขนาดนี้ คงเป็นอะไรที่ตื่นเต้นและต้องใช้ความกล้ามากจริงๆ
ปิดท้ายด้วยรูปพี่ขุนเดชเอาใจแม่ยกละกัน ปิ๊งๆๆ
.
.
.
ปิ๊งงงงงงงงงงงง
ที่มา: แผนที่การเดินทางทางเรือไปฝรังเศส ของพี่หมื่นไปทางไหนครับ